หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

การจัดการเรียนรู้ด้านดนตรี

ระบบการสอนดนตรีของโคได (Kodaly Method)

เป้าหมายของระบบโคได 
        เป้าหมายหลักในระบบการสอนดนตรีของโคได คือการที่ประชาชนในประเทศสามารถอ่านโน้ตและเขียนโน้ตเพลงได้ โคไดเชือว่าความสามารถในการอ่านและเขียนโน้ตเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนศิลปะดนตรีทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ทางดนตรี การวิเคราะห์เพลงการแต่งเพลง หรือ การปฏิบัติบรรเลงดนตรี เขามีความเชื่อในประเทศฮังการี และการฝึกฝนทางดนตรีควรจะไปพร้อมๆ กับการศึกษาเบื้องต้น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์สุดยอดของเขานี้ โคไดจึงจัดให้มีการฝึกหัดร้องโน้ตแบบ ซอล - ฟา (So – Fa teaching) ในโรงเรียนของรัฐทั่วไป การฝึกร้องโน้ตนี้เป็นการปูพื้นสำหรับการสอนการร้องเพลงประสานเสียง (Choral Musicianship) ระบบ ซอล - ฟา นี้เน้นทักษะในการอ่านและร้องโน้ตเมื่อแรกเห็น (Sight singing) และการบันทึกโน้ตจากเสียง ที่ได้ยิน (Dictation) ไว้ด้วย โคไดต้องเริ่มการสอนนี้ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้กับเด็ก เพื่อเตรียมให้เขารักและอยู่กับดนตรีไปจนตลอดชีวิต ระบบการสอนนี้จะตั้งอยู่บนการสะสมทักษะในการใช้จังหวะและทำนองเพลงโคได เชื่อว่าการเรียนดนตรี เป็นเรื่องที่เป็นไปได้สำหรับเด็กทุกคน ไม่จำกัดเฉพาะแต่กับเด็กที่มีแววทางดนตรีเท่านั้น เขาเชื่อว่าด้วยวิธีการสอนที่ดี จะสามารถทำให้เด็กได้พื้นฐานและทักษะของการสื่อสารด้วยดนตรี (Music Communication) เหมือนกับการที่เด็กมีทักษะของการสื่อสารด้วยภาษาพูด Zoltan Kodaly (1882 – 1967 ชาวฮังการี ) เป็นที่รู้จักแพร่หลายในวงการดนตรีด้วยความเด่น 3 ด้าน คือ การเป็นนักประพันธ์เพลง (Composer) การเป็นนักค้นคว้าเกี่ยวกับประวัดศาสตร์ดนตรี (Musicologist) และการเป็นครูสอนดนตรี (Music Educator) ในด้านการประพันธ์ เขาเป็นที่รู้จักกันกว้างขวางจากผลงานการแต่งเพลงบรรเลงแบบเถา (Orchestral Suite) ซึ่งในรากฐาน Opera ที่เขาแต่งเองชื่อ The Peacock Variations และจาก Psalm us Hungaricus สำหรับนักร้องเดี่ยวเสียงเทเนอร์ ซึ้งร้องกับคอรัสและวงออร์เคสตร้า ในด้านการเป็นนักค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เขาได้ร่วมมือกับ บาร์ท็อค ( Bela Bartok นักดนตรีเอกชาวฮังการีอีกคนหนึ่ง)ในการรวบรวมและจัดระบบหมวดหมู่เพลงพื้นเมืองของ ฮังการี จำนวนมหาศาล ในด้านการเป็นครูสอนดนตรี เขาได้รวบรวมเพลงที่เหมาะสมสำหรับการสอนโยมีทั้งเพลงที่เขาแต่งขึ้นเพื่อประโยชน์ทางการสอนและมีทั้งเพลงร้องประสารเสียงสำหรับเด็ก เขาได้จัดตั้งเกณฑ์ในการสร้างหลักสูตรดนตรีศึกษาที่ดีที่สุด

        โคไดเชื่อว่าการศึกษาดนตรีควรเริ่มต้นเร็วที่สุดที่จะเร็วได้ในชีวิตของทุกคน เด็กชาวฮังการีมักเริ่มต้นเรียนดนตรีในชั้นอนุบาลของรัฐ บางคนเริ่มตั่งแต่อายุสองขวบครึ่ง ด้วยวัยขนาดนี้โคไดเชื่อว่าเด็กจะไดรับรู้ได้ดีที่สุด การพัฒนาในอนาคตของประสาทหู (Musical ear) และการพัฒนารสนิยมในดนตรีที่ดี (Musical taste) เป็นไปได้ดีถ้าเด็กได้รับการศึกษาที่ดีเลิศในระหว่างอายุ 3-7 ขวบ
โคได เชื่อเช่นเดียวกับคาร์ล ออร์ฟ (Carl Orffนักศึกษาดนตรีชาวเยอรมัน) ว่าเด็กไม่ว่าชาติใด จะแสดงพัฒนาการดนตรีประจำชาติจากขั้นพื้นฐานไปสู่ขั้นพัฒนาสูงสุด บทเรียนดนตรีขั้นต้นถือเป็นส่วนสำคัญที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมการเป็นนักดนตรีสมัครเล่นหรือมืออาชีพการจัดกิจกรรมและอุปกรณ์การสอนสำหรับระยะเริ่มต้นจะต้องเหมือนกัน การวางแผนอย่างรอบคอบ และการต่อเนื่องของการพัฒนาความรู้และประสบการณ์ทางด้านดนตรีเป็นมาตรฐานของการสอนดนตรีแบบโคได ความรู้ในเรื่องจังหวะ , ทำนอง , Key signatures, Mete signatures และสัญลักษณ์ในทางทฤษฎีต่างๆ โคไดวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะสอนอะไร ตอนไหน ในหนังสือชุด Choral Method ของโคไดเขาเรียกเพลงต่างๆ ไว้ตามลำดับความยาก โดยแต่ละลำดับโคไดเสนอการฝึกซ้อมอย่างเข้มงวดไว้ด้วย โคไดและออร์ฟ คิดตรงกันว่าการร้องเพลงและการเคลื่อนไหว จะเกิดขึ้นพร้อมกันโดยธรรมชาติในตัวเด็ก (Mark, p 106) ในชั้นอนุบาลและชั้นประถมต้นการเล่นประกอบเพลง (Singing game) เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง ในระบบของโคได การเคลื่อนไหวอีกอย่างที่เหมาะสมกับระบบนี้ก็คือ การเต้นรำพื้นเมือง การเคลื่อนไหวจึงเป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนแนวความคิดในการเรียนจังหวะและทำนองเพลงเบื้องต้น ตัวอย่าง เช่น เมื่อเด็กกำลังเรียนเกี่ยวกับ Beat และ Rhythm ของเพลง เด็กจะเดินตาม Beat และตบมือตาม Rhythm โคไดสนับสนุนอย่างแข็งขันในการปลูกฝังรสนิยมทางดนตรี เขาเชื่อมั่นว่าเป้าหมายสำคัญประการหนึ่งของการศึกษาดนตรีก็คือการพัฒนาความรู้สึกซาบซึ้งในความงดงามของดนตรีเมื่อย่างเข้าวัยรุ่น โคไดเห็นว่าส่วนที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งในการศึกษาของเด็กชาวฮังการรีก็คือ การได้รู้จักบทเพลงพื้นเมืองอันเป็นมรดกประจำชาติและรู้จักเพลงคลาสสิคของโลก

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- การสอนดนตรี ตามแนวของโคได
- การสอนสำหรับเด็ก ตามแนวของ คาร์ล ออร์ฟ
รศ.ดร. ธวัชชัย นาควงษ์ ภาควิชาศิลปนิเทศ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

                                                                             ข้อมูลจาก : www.youngcreativethailand.com/